ความหมายของสื่อวัสดุ
คำว่า “วัสดุ” หมายถึง สิ่งของที่มีขนาดเล็กบางอย่างที่มีความทนทานสูง แต่บางอย่างฉีกขาดแตกหักชำรุดเสียหายได้ง่าย เรียกว่าวัสดุสิ้นเปลือง เช่น กระดาษ กาว สี เชือก กิ่งไม้ ใบไม้ เป็นต้น
วัสดุมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในการจำแนก เช่น วัสดุตามธรรมชาติ วัสดุประดิษฐ์ วัสดุถาวร วัสดุสิ้นเปลือง วัสดุแข็ง วัสดุเหลว วัสดุสองมิติ วัสดุสามมิติ เมื่อนำวัสดุเหล่านี้มาใช้ประกอบการเรียนการสอนจึงเรียกว่า “สื่อวัสดุ” ซึ่งเป็นสื่อขนาดเล็กที่มีศักยภาพในการบรรจุเก็บเนื้อหาและถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางชนิดสื่อความหมายได้ด้วยตัวมันเอง เช่น แผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ โปสเตอร์ แต่บางชนิดมีขนาดเล็กมากต้องอาศัยเครื่องมืออุปกรณ์ในการฉายเพื่อขยายเนื้อหาสาระให้มีขนาดใหญ่หรือเสียงดังขึ้นจึงจะสื่อความหมายอย่างชัดเจน เช่น ฟิล์มสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ เทปเสียง แผ่นโปร่ง เป็นต้น
ประเภทของสื่อวัสดุ
สื่อวัสดุที่ใช้กับการเรียนการสอนในปัจจุบัน หากจำแนกตามคุณลักษณะที่ปรากฏให้เห็นมีดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->สื่อวัสดุสองมิติ
โดยทั่วไปหมายถึง สื่อวัสดุกราฟิกซึ่งมีรูปร่างแบน ไม่มีความหนา มีองค์ประกอบสำคัญคือ รูปภาพ ตัวหนังสือ และสัญลักษณ์ สื่อเหล่านี้ได้แก่ กราฟ (graphs) แผนภูมิ (charts) ภาพพลิก (flipcharts) ภาพโฆษณา (porters) ภาพชุด (flash cards) แผ่นโปร่งใส (transparencies)
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->สื่อวัสดุสามมิติ
เป็นสื่อที่สร้างมาจากวัสดุต่างๆ สามารถตั้งได้ด้วยตัวมันเอง ที่นิยมใช้กับกระบวนการเรียนการสอน ได้แก่ หุ่นจำลอง (models) ของจริง (real objects) ของตัวอย่าง (specimens) ป้ายนิเทศ (bulletin boards) กระดานแม่เหล็ก (magnify boards) ตู้อันตรทัศน์ (diorama)
<!--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
เป็นสื่อที่ใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีทั้งประเภทเสียงอย่างเดียวและประเภทที่มีทั้งภาพและเสียงอยู่ด้วยกัน เช่น เทปเสียง (tape) ม้วนวีดิทัศน์ (video tape) แผ่นซีดี (CD-Rom) วีซีดี (VCD) ดีวีดี (DVD) เป็นต้น
วัสดุกราฟิก หมายถึง สื่อการเรียนการสอนที่มีองค์ประกอบสำคัญคืองานกราฟิก ได้แก่ ภาพเขียนทั้งที่เป็นภาพสี ภาพขาวดำ ตัวหนังสือ เส้นและสัญลักษณ์ อย่างไรก็ดีงานกราฟิกทั้งหลายแม้ว่าจะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการวาดภาพ การเขียนภาพระบายสีเช่นเดียวกับงานศิลปะแต่ต่างก็มีความหมายและจุดมุ่งหมายในการสร้างสรรค์แตกต่างกัน กล่าวคืองานกราฟิกในสื่อการเรียนการสอนมีวัตถุประสงค์เพื่อการสื่อความหมายและถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียน ส่วนงานศิลปะ (Art) สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความงามและความพอใจ โดยศิลปินและผู้ชมจะใช้การสื่อและเสพรสของความงามด้วยอารมณ์และความรู้สึก
ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก
วัสดุกราฟิกทุกชนิดมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1. ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกัน
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว
<!--[if !supportLists]-->3. ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้น
<!--[if !supportLists]-->4. ประหยัดเวลาการเรียนรู้ด้วยการแปลความหมายจากรูปภาพ และสัญลักษณ์
<!--[if !supportLists]-->5. รูปภาพ สัญลักษณ์ สามารถกระตุ้นความสนใจผู้เรียนได้ดีกว่าตัวหนังสืออย่างเดียว
สื่อวัสดุสามมิติ หมายถึง สื่อที่มีความกว้าง ยาว หนาหรือลึก สามารถรับรู้ได้หลายมุมมอง และรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสหลายทาง การตั้งแสดงวัสดุสามมิติที่มีขนาดเล็กทำได้สะดวกและอิสระ อาจใช้ร่วมกับวัสดุอื่นๆก็ได้ เช่น หุ่นจำลอง ของจริง ป้ายนิเทศ ตู้อันตรทัศน์
สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Material Media) ได้เป็นที่ยอมรับกันว่าปัจจุบันสื่อประเภทอิเล็คทรอนิคส์ได้เข้ามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์และสังคมแทบทุกสาขาอาชีพไม่ทางตรงก็ทางอ้อมไม่ว่าจะเป็นสื่อทางภาพและเสียง เช่น วีซีดี (VCD) ดีวีดี (DVD) ดีวีฟอร์แม็ต (DV Format) เอ็มเพ็ค (MPEC) ฯลฯ ดังนั้นเพื่อให้ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกียวข้องกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิคส์ได้คุ้ยเคยกับ
วัสดุดังกล่าว จึงเสนอเนื้อหาพอสังเขปเพื่อเป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการใช้งานและการศึกษาค้นคว้าในขั้นสูงต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น